บทความว่าด้วยการตักเตือนจากการบริโภคจากทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ถูกต้องชอบธรรม พูดถึงคำสั่งห้ามไม่ให้กระทำดังกล่าวจากโองการอัลกุรอานและหะดีษ และอธิบายพิษภัยของมันจากคำสอนอิสลาม รวมถึงคำเตือนจากบรรดาผู้รู้ในยุคแรกของอิสลามเกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
การบริโภคทรัพย์สินที่ต้องห้าม - (ไทย)
อัล-ฟะรออิฎ บทว่าด้วยการแ่บ่งมรดก จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ โดยเชคมุหัมมัด อัตตุวัยญิรีย์ ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ อาทิ ความสำคัญของวิชาการแ่บ่งมรดก ความหมายของอัลฟะรออิฎ สิทธิต่างๆ เกี่ยวกับมรดก การมีสิทธิในมรดกและเงื่อนไข ประเภทของการสืบมรดก อัตราส่วนที่ศาสนากำหนดที่มีปรากฏในอัลกุรอาน บรรดาทายาทผู้ชายที่มีสิทธิ์รับมรดก บรรดาทายาทผู้หญิงที่มีสิทธิ์รับมรดก
บทความที่ตอบความคลุมเครือบางประเด็น ซึ่งเป็นข้อสงสัยของบางกลุ่มที่โจมตีและทําลายภาพพจน์อันดีงามของอิสลาม เกี่ยวกับสิทธิของสตรีในเรื่องมรดกและค่าสินไหมทดแทนกรณีฆาตกรรม คัดมาจากหนังสือ สถานะของสตรีภายใต้ร่มเงาอิสลาม โดย อับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ
อิสลามได้ให้หลักการที่เกี่ยวข้องกับการทำการค้าขายไว้อย่างครบครันและเหมาะสม หลักการบางอย่างเป็นหลักพื้นฐานในภาพรวม บางอย่างอาจจะเป็นหลักการที่ให้รายละเอียดที่ชัดเจนตรงจุดและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องด้วยธรรมชาติของการทำธุรกิจที่อาจนำมาซึ่งความทุจริตและเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย อิสลามจึงย้ำให้นักธุรกิจมุสลิมทำธุรกิจด้วยความเหมาะสม ยุติธรรม และอย่างมีจริยธรรม นักธุรกิจมุสลิมต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับหลักการพื้นฐานในอิสลาม ซึ่งเป็นสิ่งที่มุสลิมในสาขาอาชีพอื่นจำเป็นต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน หลักการที่สำคัญนั้น ได้แก่ ...
แนวคิดธุรกิจอิสลาม - (ไทย)
บทความที่กล่าวถึงแนวคิดหลักบางประการของอิสลามที่ว่าด้วยการประกอบธุรกิจ เนื่องจากอิืสลามให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอิสลามที่มีความสมบูรณ์และครอบคลุม และอัลลอฮฺทรงบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าทุกสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างในโลกนี้ก็เพื่อเป็นประโยชน์และสร้างความสะดวกสบายแก่มวลมนุษย์ ซึ่งในหลักการของอิสลามถือว่าการประกอบธุรกิจเป็นเครื่องมือที่ดีในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว บทความแปลและเรียบเรียงจาก Islam & Business, By Nik Mohamed Affandi Bin Nik Yusoff, Edited by Ismail Noor
อธิบายความหมายและหุก่มของ อัล-ฮิบะฮฺและอัศ-เศาะดะเกาะฮฺ ความประเสริฐของการมีความเผื่อแผ่ใจบุญและการทำดีต่อผู้อื่น บทบัญญัติในการรับของที่ถูกยกให้ สิ่งที่ทำให้การยกให้ถือว่าใช้ได้ วิธีการยกทรัพย์สินให้แก่ลูก ๆ การเอาของที่มอบให้คนอื่นคืน สิ่งที่ผู้มอบและผู้รับมอบควรทำ การบริจาคที่ดีที่สุด ฯลฯ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
อธิบาย ความหมายของ อัฎ-เฎาะมาน หุก่มของการรับชดใช้แทน เงื่อนไขที่จะทำให้การรับชดใช้แทนเป็นผล ผลของการรับชดใช้แทน การสิ้นสุดภาระชดใช้ ความหมายของ อัล-กะฟาละฮฺ (การค้ำประกัน) เคล็ดลับ(หิกมะฮฺ)ในการบัญญัติการค้ำประกัน หุก่มของอัลกะฟาละฮฺ เมื่อใดที่ถือผู้ประกันพ้นภาระ หุก่มการเดินทางของผู้ที่ติดหนี้ เครดิตที่ออกให้โดยธนาคาร จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์