บทความวิเคราะห์และอธิบายผลพวงแห่งการศรัทธาที่ถูกต้องและความเชื่อที่บริสุทธิ์ ที่ทรงอิทธิพลต่อการยืนหยัดของบรรดาผู้ศรัทธาในยามที่เกิดวิกฤต ความวุ่นวาย และการทดสอบต่าง ๆ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ศรัทธาได้รับบทเรียนอันทรงคุณค่าจากความศรัทธาที่พวกเขามีอยู่นั่นเอง ผู้เขียนได้กล่าวถึงตัวอย่างบทเรียนแปดประการที่ผู้ศรัทธาได้เรียนรู้จากการศรัทธาที่ว่านี้
จุดยืนของมุสลิมต่อความวุ่นวาย - (ไทย)
ความวุ่นวายต่าง ๆ นั้น เป็นเครื่องทดสอบที่อัลลอฮฺใช้มันทดสอบประชาชาตินี้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกถึงการจะเกิดขึ้นของมัน และชี้แนะถึงสิ่งที่มุสลิมควรกระทำยามที่มันเกิดขึ้น เพื่อให้เขาได้รอดพ้นจากความเลวร้ายของมันด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก
ในยุคสุดท้าย ความวุ่นวายจะมีมากมากและหลากหลายรูปแบบ และจะมีผู้คนจำนวนมากที่ต้องเสียหายล้มตายเพราะมัน และไม่มีผู้ใดจะรอดพ้นจากความเลวร้ายของมันได้นอกจากผู้ที่ยึดมั่นในแบบฉบับของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม และหลีกเลี่ยงสุดกำลังที่จะเข้าไปข้องแวะใดๆในความวุ่นวายนี้ และยืนหยัดอยู่กับคนมุสลิมส่วนใหญ่ และช่วยกันพยายามแก้ไขเท่าที่สามารถพร้อมกับมีความอดทน และวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺให้ยืนหยัดบนหลักการศาสนา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
บทความอธิบายถึงความจำเป็นที่มุสลิมทุกคนต้องค้นหาจุดยืนที่ถูกต้อง และปฏิบัติตนอยู่บนจุดยืนดังกล่าวด้วยความเข้มแข็ง เพื่อเผชิญกับปัญหามากมายที่ถาโถมและซับซ้อนด้วยความสับสนวุ่นวายหลายด้านในโลกปัจจุบัน ในรูปของปัญหาสังคมต่างๆ มากมายอาิทิ ปัญหายาเสพติด การผิดประเวณี การขาดจริยธรรม การหมกมุ่นทางวัตถุ ฯลฯ ซึ่งคืบคลานเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ยากยิ่ง
ความเป็นศัตรูของชัยฏอนที่มีต่อมนุษย์นั้นได้รับการยืนยันแล้ว ไม่มีข้อสงสัยใดๆ อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงมันไว้ในอัลกุรอานเพื่อเตือนบ่าวของพระองค์ถึงแผนการร้ายของมัน ซึ่งก็คือมันจะไม่ปล่อยสิ่งใดที่อาจก่อความบาดหมางกัน นอกจากมันจะทำและพยายามถึงที่สุดในเรื่องดังกล่าวนั้น และหนึ่งในนั้นก็คือ การก่อฟิตนะฮฺและความบาดหมางระหว่างกันที่จะส่งผลให้เกิดความแตกแยก การหันหลังให้กัน และการรบราฆ่าฟันกันในระหว่างมุสลิมด้วยกัน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
รวมหลักฐานต่างๆ จากอัลกุรอานและหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ได้สั่งเสียตักเตือนและกำชับเกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งถือว่าเป็นฟิตนะฮฺหรือบททดสอบประการหนึ่งของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่หลายต่อหลายคนอาจจะไม่ทันระวังตนในเรื่องดังกล่าว จึงพึงเรียนรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักสำนึกในข้อเท็จจริงต่างๆ ของมัน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์