ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่เห็นจันทร์เสี้ยวแต่เพียงผู้เดียว
หมวดหมู่
Full Description
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่เห็นจันทร์เสี้ยวแต่เพียงผู้เดียว
حكم رؤية من رأى الهلال وحده
< تايلانديไทย – Thai - >
มุฮัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน
محمد بن صالح العثيمين
ผู้แปล: อัสรัน นิยมเดชา
ผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน
ترجمة: عصران نيومديشا
مراجعة: صافي عثمان
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่เห็นจันทร์เสี้ยวแต่เพียงผู้เดียว
คำถามที่ 133:
ท่านชัยคฺครับ อะไรคือข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่เห็นจันทร์เสี้ยวแต่เพียงผู้เดียว โดยที่ผู้อื่นไม่ได้เริ่มถือศีลอดพร้อมกับเขา ?
คำตอบ:
ผู้ที่เห็นจันทร์เสี้ยวแต่เพียงผู้เดียวจำเป็นต้องแจ้งข่าวให้ศาลศาสนาทราบพร้อมให้ถ้อยคำยืนยันการมองเห็นต่อหน้าศาล ทั้งนี้การเริ่มนับเดือนเราะมะฎอนนั้นอนุญาตให้รับข่าวและการยืนยันจากบุคคลเพียงหนึ่งคนได้หากผู้พิพากษาทำการสอบสวนจนเป็นที่พอใจและตัดสินไปตามถ้อยคำให้การของบุคคลดังกล่าว
ในกรณีที่คำให้การของเขาได้รับการปฏิเสธ อุละมาอ์บางท่านมีความเห็นว่าจำเป็นที่เขาจะต้องถือศีลอดเพราะเขามีความมั่นใจว่าตนเองเห็นจันทร์เสี้ยว ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ »
“พวกท่านจงถือศีลอดเมื่อพวกท่านเห็นมัน (จันทร์เสี้ยว)" (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 1909 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1081)
ซึ่งบุคคลดังกล่าวเห็นจันทร์เสี้ยว
ในขณะที่อุละมาอ์บางส่วนมีทัศนะว่าผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด โดยให้เหตุผลว่าการถือศีลอดนั้นจำเป็นต้องถือพร้อม ๆ กับผู้อื่น เช่นเดียวกับการหยุดถือศีลอดก็ต้องพร้อม ๆ กับผู้อื่น ทั้งนี้การที่เขาปฏิบัติพร้อมกับคนส่วนใหญ่ในสังคมย่อมดีกว่าการปลีกตัวถือศีลอดโดยลำพังในวันที่แตกต่างจากผู้อื่น
อีกทัศนะหนึ่งระบุว่า ให้ถือศีลอดคนเดียวเงียบ ๆ กล่าวคือจำเป็นที่เขาจะต้องถือศีลอดเพราะเขาเห็นจันทร์เสี้ยวด้วยตัวเอง แต่ที่ต้องถืออย่างเงียบ ๆ นั้น ก็เพื่อไม่ให้เป็นการแสดงออกถึงการปฏิบัติที่แตกต่างจากคนหมู่มากนั่นเอง