×
ถาม ฉันเป็นหญิงมุสลิมะฮฺคนหนึ่งที่พยายามหมั่นรักษาละหมาดตะรอวีหฺ ซึ่งโดยปกติแล้วหากฉันไม่ไปละหมาดที่มัสญิด น้องชายของฉันก็ไม่ไปด้วยเช่นกัน แต่เมื่อเราไปมัสญิดเราก็จะละหมาดวิติรฺพร้อมกับอิมาม ส่วนตัวแล้วฉันเคยชินในการตื่นขึ้นมาในช่วงท้ายของค่ำคืนเพื่อละหมาดตะฮัจญุดและอ่านอัลกุรอาน แต่หากฉันละหมาดวิติรฺแล้ว ฉันกลับไม่สามารถละหมาดตะฮัจญุดได้อีก ดังนั้นตัวเลือกใดคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับฉัน ระหว่างการละหมาดตะรอวีหฺที่มัสญิด เพื่อว่าน้องชายของฉันก็จะได้ละหมาดที่มัสญิด หรืออยู่ที่บ้านเพื่อฉันจะได้ละหมาดตะฮัจญุดในช่วงท้ายของค่ำคืน และระหว่างสองตัวเลือกนี้การปฏิบัติแบบใดจะได้รับผลบุญมากกว่ากัน?

    หากต้องการละหมาดตะฮัจญุด ในช่วงท้ายของคืนจะต้องละหมาดวิติรฺพร้อมกับอิมามในละหมาดตะรอวีหฺหรือไม่?

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด

    แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ

    ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : เว็บไซต์ islamqa.com

    2013 - 1434


    تريد أن تتهجد آخر الليل فهل توتر مع الإمام في التراويح؟

    « باللغة التايلاندية »

    محمد صالح المنجد

    ترجمة: محمد صبري يعقوب

    مراجعة: عصران نيومديشا

    المصدر: موقع الإسلام سؤال وجواب

    2013 - 1434

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    หากต้องการละหมาดตะฮัจญุด

    ในช่วงท้ายของคืนจะต้องละหมาดวิติรฺพร้อมกับอิมามในละหมาดตะรอวีหฺหรือไม่?

    มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พรอันประเสริฐและความศานติจงมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคีใด ๆ ต่อพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

    ถาม ฉันเป็นหญิงมุสลิมะฮฺคนหนึ่งที่พยายามหมั่นรักษาละหมาดตะรอวีหฺ ซึ่งโดยปกติแล้วหากฉันไม่ไปละหมาดที่มัสญิด น้องชายของฉันก็ไม่ไปด้วยเช่นกัน แต่เมื่อเราไปมัสญิดเราก็จะละหมาดวิติรฺพร้อมกับอิมาม ส่วนตัวแล้วฉันเคยชินในการตื่นขึ้นมาในช่วงท้ายของค่ำคืนเพื่อละหมาดตะฮัจญุดและอ่านอัลกุรอาน แต่หากฉันละหมาดวิติรฺแล้ว ฉันกลับไม่สามารถละหมาดตะฮัจญุดได้อีก ดังนั้นตัวเลือกใดคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับฉัน ระหว่างการละหมาดตะรอวีหฺที่มัสญิด เพื่อว่าน้องชายของฉันก็จะได้ละหมาดที่มัสญิด หรืออยู่ที่บ้านเพื่อฉันจะได้ละหมาดตะฮัจญุดในช่วงท้ายของค่ำคืน และระหว่างสองตัวเลือกนี้การปฏิบัติแบบใดจะได้รับผลบุญมากกว่ากัน?

    ตอบ -อัลหัมดุลิลลาฮฺ- มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ

    การที่เธอไปยังมัสญิด ได้ละหมาดตะรอวีหฺพร้อมกับอิมาม และได้พบปะกับพี่น้องมุสลิมะฮฺของเธอด้วยกัน ทั้งหมดนี้ก็ล้วนเป็นความดีงาม และทางนำทั้งสิ้น อัลหัมดุลิลลาฮฺ และการที่เธอช่วยน้องชายของเธอในเรื่องความดี ก็เป็นความดีอีกประการหนึ่ง

    ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น มิได้ขัดแย้งกับการที่เธอจะละหมาดตะฮัจญุดในตอนท้ายของคืน โดยเธอสามารถที่จะรวมไว้ซึ่งความประเสริฐทั้งหมดที่กล่าวมาได้ ด้วยการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดจากสองรูปแบบนี้

    หนึ่ง... ให้เธอละหมาดวิติรฺพร้อมกับอิมาม และหากเธอสะดวกที่จะลุกขึ้นมาละหมาดตะฮัจญุดหลังจากนั้นอีก ก็ให้เธอละหมาดตามที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้แก่เธอนั้นคือทีละสองร็อกอัต โดยที่ไม่ต้องละหมาดวิติรฺอีกเป็นครั้งที่สอง เนื่องจากไม่มีการละหมาดวิติรฺสองครั้งในค่ำคืนเดียวกัน

    สอง... ให้เธอประวิงการละหมาดวิติรฺให้ล่าช้าจนกระทั่งถึงช่วงท้ายของค่ำคืน ซึ่งเมื่ออิมามให้สลามในละหมาดวิติรฺ เธอก็ไม่ต้องให้สลามตาม แต่ให้เธอยืนขึ้นเพิ่มอีก 1 ร็อกอัต เพื่อให้การละหมาดวิติรฺของเธอนั้นอยู่ในตอนสุดท้ายของค่ำคืน

    ชัยคฺบินบาซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ เคยถูกถามว่า “มีคนบางคนเมื่อเขาละหมาดวิติรฺพร้อมกับอิมาม และเมื่ออิมามได้ให้สลามแล้ว เขาก็ได้ยืนขึ้นและละหมาดเพิ่มอีก 1 ร็อกอัต เพื่อที่เขาจะได้ละหมาดวิติรฺในช่วงท้ายของค่ำคืน ถามว่าการปฏิบัติเช่นนี้มีหุกุ่มอย่างไร? และจะถือว่าเขาได้เสร็จสิ้นการละหมาดพร้อมกับอิมามหรือไม่?"

    ท่านตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบว่ามันจะมีปัญหาอะไร ซึ่งบรรดานักวิชาการได้ระบุเรื่องนี้ไว้ว่า ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดที่จะปฏิบัติเช่นนั้น เพื่อเขาจะได้ละหมาดวิติรฺในช่วงท้ายของค่ำคืน และบรรดานักวิชาการก็ถือว่าคนที่ปฏิบัติเช่นนั้นก็เป็นผู้ที่ได้ยืนละหมาดพร้อมอิมามและเสร็จสิ้นไปพร้อมกับอิมาม เนื่องจากเขาได้ยืนละหมาดพร้อมอิมามจนกระทั่งเสร็จสิ้นไปพร้อมกัน แต่ที่เขาเพิ่มขึ้นมานั้นก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางบทบัญญัติ เพื่อว่าเขาจะได้ละหมาดวิติรฺในช่วงท้ายของค่ำคืน ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และการปฏิบัติเช่นนี้ก็ไม่ทำให้เขาออกจากสภาพของการยืนละหมาดพร้อมอิมาม ทว่า เขาได้ยืนละหมาดพร้อมอิมามกระทั่งอิมามเสร็จสิ้นจากการละหมาด เพียงแต่ว่าเขามิได้เสร็จพร้อมอิมาม โดยอาจจะล่าช้าไปเล็กน้อย" สิ้นสุดคำกล่าว (มัจมูอฺฟะตาวาบินบาซ 11/312)

    ชัยคฺอิบนุญิบรีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ เคยถูกถามในลักษณะเดียวกันนี้ แล้วท่านได้ตอบว่า “ที่ประเสริฐนั้นมะอ์มูมสมควรตามอิมามจนกระทั่งเสร็จสิ้นละหมาดตะรอวีหฺและวิติรฺ ทั้งนี้เพื่อเป็นการรับรองว่าเขาได้ละหมาดพร้อมกับอิมามและเสร็จพร้อมกัน เพื่อเขาจะได้รับการบันทึกผลบุญเท่ากับการละหมาดตลอดทั้งคืน ดังที่ท่านอิมามอะหฺมัดและนักวิชาการท่านอื่น ๆ ได้ปฏิบัติกัน

    ทั้งนี้ทั้งนั้น การที่เขาได้ละหมาดวิติรพร้อมกับอิมามและเสร็จไปพร้อมกันนั้น ก็ไม่จำเป็นอีกแล้วที่เขาจะละหมาดวิติรฺในช่วงท้ายของค่ำคืนอีก ซึ่งหากเขาตื่นขึ้นมาละหมาดในช่วงท้ายของค่ำคืน ก็ให้เขาละหมาดทีละสองร็อกอัต โดยไม่ต้องละหมาดวิติรฺอีกเป็นครั้งที่สอง เพราะไม่มีการละหมาดวิติรฺสองครั้งในค่ำคืนเดียวกัน

    และมีนักวิชาการบางท่านให้ทัศนะว่า เป็นสิ่งที่ดีหากเขาจะทำให้วิติรฺที่ละหมาดพร้อมกับอิมามเป็นจำนวนคู่ โดยให้เขายืนขึ้นเพิ่มหลังจากที่อิมามให้สลามอีก 1 ร็อกอัต หลังจากนั้นก็ให้สลาม แล้วให้การละหมาดวิติรฺของเขานั้นอยู่หลังจากละหมาดตะฮัจญุด ดังที่คำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « فَإِذَا خَشِيَ أَحَدُكُمْ الصُّبْحَ صَلَّى رَكْعَةً وَاحِدَةً تُوتِرُ لَهُ مَا قَدْ صَلَّى».

    ความว่าหากว่าคนหนึ่งคนใดจากพวกท่าน กลัวไม่ทันละหมาดศุบหฺ ให้ละหมาดสักหนึ่งร็อกอัต ให้เป็นการละหมาดจำนวนคี่ ปิดท้ายสิ่งที่เขาได้ละหมาดไป"

    และท่านกล่าวว่า

    «اجْعَلُوا آخِرَ صَلاتِكُمْ بِاللَّيْلِ وِتْرًا».

    พวกท่านจงให้การละหมาดของพวกท่านในตอนกลางคืนปิดท้ายด้วยละหมาดวิติรฺ(จำนวนคี่)"

    สิ้นสุดคำกล่าว นำมาจาก (ฟะตาวาเราะมะฎอน หน้า 826)

    ซึ่งคณะกรรมการถาวรเพื่อการวินิจฉัยปัญหาศาสนา ได้วินิจฉัยว่าแนวทางที่สองถือเป็นวิธีที่ดี (ฟะตาวาโดยคณะกรรมการถาวรฯ 7/207)

    เราขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺให้ทรงประทานความสำเร็จและความถูกต้องให้แก่ท่านด้วยเถิด

    อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่ง

    ที่มา: http://www.islamqa.com/ar คำถามหมายเลข 65702