อะมานะฮฺ หน้าที่และความรับผิดชอบ
หมวดหมู่
แหล่งอ้างอิง
Full Description
อะมานะฮฺ หน้าที่และความรับผิดชอบ
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา
แปลโดย : อุษมาน อิดรีส
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา yiu.ac.th
2012 - 1433
﴿ الأمانة والمسؤولية ﴾
« باللغة التايلاندية »
د.إسماعيل لطفي جافاكيا
ترجمة: عثمان إدريس
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: جامعة جالا الإسلامية yiu.ac.th
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
อะมานะฮฺ หน้าที่และความรับผิดชอบ
ความหมายและประเภทของอะมานะฮฺ
อะมานะฮฺ หมายถึง ความซื่อสัตย์ ความไว้วางใจ และความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
อะมานะฮฺมีสองประเภท
1. อะมานะฮฺทั่วไป ได้แก่ อัล-อิสลาม
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿إِنَّا عَرَضۡنَا ٱلۡأَمَانَةَ عَلَى ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ وَٱلۡجِبَالِ فَأَبَيۡنَ أَن يَحۡمِلۡنَهَا وأَشۡفَقۡنَ مِنۡهَا وَحَمَلَهَا ٱلۡإِنسَٰنُۖ إِنَّهُۥ كَانَ ظَلُومٗا جَهُولٗا ٧٢﴾ [الأحزاب: ٧٢]
ความหมาย “แท้จริงเราได้เสนออะมานะฮฺให้แก่ชั้นฟ้าทั้งหลาย แผ่นดิน และขุนเขาทั้งหลาย แต่พวกมันปฏิเสธที่จะแบกรับ เพราะกลัวว่าจะไม่สามารถแบกรับภาระอันหนักอึ้งนั้นได้ แต่ทว่ามนุษย์กลับยอมแบกรับมัน แท้จริง มนุษย์นั้นเป็นผู้ที่อธรรมและโง่เขลายิ่ง” (อัล-อะหฺซาบ 72)
2. อะมานะฮฺเฉพาะ ได้แก่ ตำแหน่งหน้าที่ ของเก็บ ของฝาก การดำเนินการ การบริหารจัดการ การสัญญา การว่าจ้าง และอื่นๆ
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿۞إِنَّ ٱللَّهَ يَأۡمُرُكُمۡ أَن تُؤَدُّواْ ٱلۡأَمَٰنَٰتِ إِلَىٰٓ أَهۡلِهَا﴾ [النساء: ٥٨]
ความหมาย “แท้จริงอัลลอฮฺทรงดำรัสให้พวกเจ้าส่งมอบ
อะมานะฮฺต่างๆ แก่ผู้ที่สมควรจะได้รับ” (อัน-นิสาอ์ 58)
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿وَٱلَّذِينَ هُمۡ لِأَمَٰنَٰتِهِمۡ وَعَهۡدِهِمۡ رَٰعُونَ ٨﴾ [المؤمنون: ٨]
ความหมาย “และบรรดาผู้ที่ระวังรักษาสิ่งที่พวกเขาได้รับมอบหมาย (อะมานะฮฺ) และได้ให้คำมั่นสัญญาไว้” (อัล-มุอ์
มินูน 8)
อะมานะฮฺ (ความรับผิดชอบ) ในตำแหน่งหน้าที่
ตำแหน่งหน้าที่เป็นการทำสัญญาจ้างรูปแบบหนึ่ง โดยเขาได้ขายเวลาบางส่วนของเขาในการดำเนินการหรือบริหารจัดการในตำแหน่งหน้าที่ที่เขาต้องรับผิดชอบอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเพื่อแลกกับเม็ดเงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งเขาจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเขา โดยเฉพาะในระหว่างช่วงเวลาทำการที่ได้ถูกกำหนดไว้ เช่น แปดชั่วโมงต่อวัน เป็นต้น ยิ่งกว่านั้น เขาจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบนอกเวลาทำการให้สำเร็จลุล่วงถ้าหากว่าความรับผิดชอบดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จในเวลาทำการที่ได้ถูกกำหนดไว้ เขาไม่มีสิทธิที่จะใช้เวลาที่เขาได้ขายไปแล้วนั้นเพื่อปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่เป็นอันขาด จนกระทั่งอุละมาอ์บางท่านมีทัศนะว่าไม่อนุญาตให้ทำการละหมาดและอิอฺติกาฟสุนัตถ้าหากว่าอิบาดะฮฺดังกล่าวไปเบียดเวลาการทำงานในหน้าที่รับผิดชอบ เพราะการปฏิบัติในหน้าที่รับผิดชอบเป็นสิ่งวาญิบ (ฟัรฎู) บนพื้นฐานของการทำสัญญาจ้างเพื่อปฏิบัติงานในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว (ดู ซัยลฺ เฏาะบะกอต อัล-หะนาบิละฮฺ ของอิบนุ เราะญับ)
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿إِنَّ خَيۡرَ مَنِ ٱسۡتَٔۡجَرۡتَ ٱلۡقَوِيُّ ٱلۡأَمِينُ ٢٦﴾ [القصص: ٢٦]
ความหมาย “แท้จริงลูกจ้างที่ประเสริฐที่สุดคือผู้ที่มีความแข็งแกร่งและมีความรับผิดชอบ (มีอะมานะฮฺ)” (อัล-เกาะศ็อศ 26)
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿قَالَ ٱجۡعَلۡنِي عَلَىٰ خَزَآئِنِ ٱلۡأَرۡضِۖ إِنِّي حَفِيظٌ عَلِيمٞ ٥٥ وَكَذَٰلِكَ مَكَّنَّا لِيُوسُفَ فِي ٱلۡأَرۡضِ يَتَبَوَّأُ مِنۡهَا حَيۡثُ يَشَآءُۚ نُصِيبُ بِرَحۡمَتِنَا مَن نَّشَآءُۖ وَلَا نُضِيعُ أَجۡرَ ٱلۡمُحۡسِنِينَ ٥٦ وَلَأَجۡرُ ٱلۡأٓخِرَةِ خَيۡرٞ لِّلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَكَانُواْ يَتَّقُونَ ٥٧﴾ [يوسف: ٥٥- ٥٧]
ความหมาย “ยูซุฟกล่าวว่า ได้โปรดแต่งตั้งฉันให้เป็นผู้ควบคุมดูแลการคลังของประเทศเถิด แท้จริง ฉันเป็นผู้ดูแลที่ชำนาญและรอบรู้ และเช่นนั้นแหละ เราได้ให้ยูซุฟมีอำนาจที่มั่นคงในแผ่นดิน เขาสามารถพำนัก ณ ที่ใดได้ตามต้องการ เราจะมอบความเมตตาของเราแก่ผู้ที่เราประสงค์ และเราจะไม่ทำให้รางวัลของบรรดาผู้ทำความดีสูญเปล่า และแน่นอนว่า รางวัลในวันอาคิเราะฮฺนั้นย่อมดีกว่าสำหรับบรรดาผู้ศรัทธาและมีความยำเกรง” (ยูซุฟ 55-57)
เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในหน้าที่รับผิดชอบของผู้ทำงานหรือลูกจ้าง ขอให้สดับฟังคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وَيۡلٞ لِّلۡمُطَفِّفِينَ ١ ٱلَّذِينَ إِذَا ٱكۡتَالُواْ عَلَى ٱلنَّاسِ يَسۡتَوۡفُونَ ٢ وَإِذَا كَالُوهُمۡ أَو وَّزَنُوهُمۡ يُخۡسِرُونَ ٣ أَلَا يَظُنُّ أُوْلَٰٓئِكَ أَنَّهُم مَّبۡعُوثُونَ ٤ لِيَوۡمٍ عَظِيمٖ ٥ يَوۡمَ يَقُومُ ٱلنَّاسُ لِرَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٦﴾ [المطففين: ١- ٦]
ความหมาย “ความหายนะจงประสบแด่บรรดาผู้ทำให้คดโกงในการชั่งตวง คือบรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขาตวงจากผู้อื่นพวกเขาจะตวงเต็ม แต่เมื่อพวกเขาตวงหรือชั่งให้คนอื่นพวกเขาจะทำให้ขาด ชนเหล่านั้นมิคิดที่จะไตร่ตรองบ้างหรือว่าพวกเขาจะถูกทำให้ฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่งสำหรับวันอันยิ่งใหญ่ วันที่มนุษย์ทุกคนจะยืนอยู่ตรงหน้าพระเจ้าแห่งสากลโลก (เพื่อรอการพิพากษา)” (อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน 1-6)
อันตรายจากการขาดอะมานะฮฺและขาดทักษะในการทำงาน
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«فَإِذَا ضُيِّعَتِ الأَمَانَةُ فَانْتَظِرِ السَّاعَةَ» ، قَالَ: كَيْفَ إِضَاعَتُهَا؟ قَالَ: «إِذَا وُسِّدَ الأَمْرُ إِلَى غَيْرِ أَهْلِهِ فَانْتَظِرِ السَّاعَةَ» [البخاري برقم 59 ورقم 6496].
ความหมาย “เมื่อมีการละเลยในหน้าที่รับผิดชอบ ก็จงรอวันเวลาแห่งความพินาศ” เศาะหาบะฮฺถามว่า “การละเลยในหน้าที่รับผิดชอบเป็นอย่างไรหรือ?”ท่านตอบว่า “เมื่อมีการมอบหมายกิจการหรือหน้าที่ความรับผิดชอบใดๆแก่ผู้ที่ไม่เหมาะสม ก็จงรอเวลาแห่งความพินาศเถิด” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 59, 6496)
บุคลิกความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ (อะมานะฮฺ)
1. บุคลิกภายนอก ได้แก่ ความสามารถ หรือความรอบรู้ (เกาะวียฺ/อะลีม, ตรงข้ามกับอ่อนแอหรือความไม่รู้)
2. บุคลิกภายใน ได้แก่ อะมานะฮฺ และความรับผิดชอบ (อะมีน/หะฟีซฺ, ตรงข้ามกับทรยศ/ละเลยหรือไม่มีความรับผิดชอบในหน้าที่)
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ อบู ซัรฺ เมื่อครั้งที่ อบู ซัรฺ ได้เสนอตัวเพื่อให้เขาได้รับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่บางประการว่า
«يَا أَبَا ذَرٍّ، إِنَّكَ ضَعِيفٌ، وَإِنَّهَا أَمَانَةُ، وَإِنَّهَا يَوْمَ الْقِيَامَةِ خِزْيٌ وَنَدَامَةٌ، إِلَّا مَنْ أَخَذَهَا بِحَقِّهَا، وَأَدَّى الَّذِي عَلَيْهِ فِيهَا» [مسلم برقم 1825]
ความหมาย “อบู ซัรฺ เอ๋ย! แท้จริงเจ้าเป็นคนอ่อนแอ และแท้จริง ตำแหน่งหน้าที่นั้นเป็นความรับผิดชอบ (อะมานะฮฺ) และแท้จริง ความรับผิดชอบดังกล่าวจะเป็นความอัปยศและความเสียใจในวันกิยามะฮฺ ยกเว้นผู้ที่รับผิดชอบในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่ด้วยดี” (เศาะฮีหฺ มุสลิม หมายเลข 1825)
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم.
والحمد لله رب العالمين.