การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเพียงพอที่จะให้ได้เข้าสวรรค์หรือไม่ ?
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
แหล่งอ้างอิง
Full Description
การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเพียงพอที่จะให้ได้เข้าสวรรค์หรือไม่ ?
﴿هل النطق بالشهادتين كاف لدخول الجنة؟﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
www.islamqa.com
แปลโดย : ยูซุฟ ศรีมาลา
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
2009 - 1430
﴿هل النطق بالشهادتين كاف لدخول الجنة؟﴾
« باللغة التايلاندية »
موقع الإسلام سؤال وجواب
ترجمة: يوسف سري مالا
مراجعة: صافي عثمان
2009 - 1430
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเพียงพอที่จะให้ได้เข้าสวรรค์หรือไม่ ?
คำถาม : ถูกต้องหรือไม่เมื่อครอบครัวของคนๆ หนึ่งศรัทธาว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นศาสนทูตของพระองค์" ดังกล่าวนี้ถือว่าเพียงพอที่จะทำให้เข้าสวรรค์หรือไม่ ?
คำตอบ : อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ
อิสลามไม่ใช่เพียงการกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเท่านั้น แต่ทว่าจำเป็นจะต้องทำให้เงื่อนไขต่างๆ ของชะฮาดะฮฺทั้งสองนี้เป็นจริงและถูกต้อง เพื่อที่ผู้กล่าวมันทั้งสองนั้นจะได้เป็นมุสลิมที่แท้จริง หลักการอิสลามนั้นรวมไว้ทั้งการเชื่อมั่น การกล่าว และการปฏิบัติ
จากท่านอุบาดะฮฺ อิบนิ อัศศอมิต กล่าวว่า : ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
عن عُبَادَةُ بْنُ الصَّامِتِ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَهِ صَلَّى اللَهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «مَنْ قَالَ أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَهُ، وَأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ، وَأَنَّ عِيسَى عَبْدُ اللهِ وَابْنُ أَمَتِهِ، وَكَلِمَتُهُ أَلْقَاهَا إِلَى مَرْيَمَ، وَرُوحٌ مِنْهُ، وَأَنَّ الْجَنَّةَ حَقٌّ، وَأَنَّ النَّارَ حَقٌّ، أَدْخَلَهُ اللهُ مِنْ أَيِّ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ الثَّمَانِيَةِ شَاءَ » . رواه البخاري ( 3252 ) ومسلم ( 28 ) .
ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวว่า ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และแท้จริงมุฮัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ แท้จริงอีซา(เยซู)เป็นบ่าวของพระองค์ และเป็นลูกของบ่าวของพระองค์ และพระองค์ได้ทรงโยนพระดำรัสของพระองค์ให้แก่มัรยัม และเป็นวิญญาณจากพระองค์ และแท้จริงสวรรค์นั้นเป็นความจริง และแท้จริงนรกนั้นเป็นความจริง อัลลอฮฺจะทรงให้เขาเข้าประตูสวรรค์ทั้งแปด ประตูใดก็ได้ตามที่เขาประสงค์" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ 3252 มุสลิม 28)
ท่านชัยคฺ อับดุรเราะหฺมาน อิบนฺ หะซัน อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อับดิลวะฮฺฮาบ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า : คำพูดที่ว่า (ผู้ใดที่ให้ชะฮาดะฮฺหรือปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ) หมายถึง ผู้ที่กล่าวมันโดยรู้ความหมายของมัน ปฏิบัติตามเป้าหมายของมัน ทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นจำเป็นในชะฮาดะฮฺทั้งสองที่จะต้องมีความรู้ ความมั่นใจ และปฏิบัติตามเป้าหมายของมัน ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :
﴿فَاعْلَمْ أَنَّهُ لاَ إِلٰهَ إلاَّ الله﴾
ความว่า "จงรู้เถิดว่าแท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ" (ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด: 19 )
และคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า :
﴿إِلاَّ مَنْ شَهِدَ بِالْحَقِّ وَهُمْ يَعْلَمُوْنَ﴾
ความว่า "นอกจากผู้ยืนยันเป็นพยานด้วยความจริง และพวกเขารู้ดี" ( ซูเราะ อัซซุครุฟ : 86)
ส่วนการกล่าวโดยไม่รู้ถึงความหมายของมัน ไม่มีความมั่นใจ และไม่ปฏิบัติตามเป้าหมายของมัน นั่นคือการออกห่างจากการตั้งภาคี ความบริสุทธิ์ใจในคำพูดและการกระทำ คำพูดทางด้านหัวใจและปาก และการปฏิบัติของหัวใจและอวัยวะต่างๆ (ถ้าหากไม่เป็นไปตามดังกล่าวแล้ว) ก็ไม่เป็นประโยชน์ทั้งนี้ด้วยมติของปวงปราชญ์
ท่านอิมามอัลกุรฏุบีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัลมุฟฮิม อะลา ศ่อฮีหิ มุสลิม" ในบทที่ว่าด้วยเรื่อง "ไม่เป็นการเพียงพอเพียงแค่การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสอง แต่ว่าจะต้องมีหัวใจที่เชื่อมั่น" การตั้งชื่อเรียกเช่นนี้เป็นการเตือนให้รู้ถึงความไม่ถูกต้องของผู้ที่คลั่งไคล้ในแนวทางมุรญิอะฮฺที่กล่าวว่า การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเพียงพอแล้วในการมีอีมาน และหะดีษต่างๆ ในบทนี้ก็บ่งชี้ถึงความไม่ถูกต้องของแนวทางนี้ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นแนวทางที่เป็นที่ทราบกันว่าไม่ถูกต้องในบทบัญญัติอิสลามสำหรับผู้ศึกษาและรู้เรื่องของมัน และคำพูดดังกล่าวยังเป็นการอนุญาตอนุโลมแก่การนิฟาก(กลับกลอก)อีกด้วย และเป็นการตัดสินว่ามุนาฟิกก็มีการศรัทธาที่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดและไม่เป็นจริงอย่างชัดเจน (จบ)
และในหะดีษเองก็ได้ชี้ถึงสิ่งนี้ นั่นคือประโยคที่ว่า : "ผู้ใดที่ให้ชะฮาดะฮฺ" เพราะแท้จริงชะฮาดะฮฺหรือการปฏิญาณจะไม่ถูกต้องนอกเสียจากว่าจะต้องมีความรู้ ความมั่นใจ บริสุทธิ์ใจ และมีความสัตย์จริง (ดู ฟัตหุลมะญีด หน้า 36)
และเงื่อนไขของ “การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ" มีอยู่ 7 เงื่อนไข มันจะไม่ยังประโยชน์นอกจากจะต้องมีครบทั้งหมด ซึ่งโดยสรุปคือ
หนึ่ง ความรู้ที่จะต้องไม่มีความเขลา
สอง ความมั่นใจที่จะต้องไม่มีความสงสัย
สาม การยอมรับที่จะต้องไม่มีการปฏิเสธ
สี่ การปฏิบัติตามที่จะต้องไม่มีการละทิ้ง
ห้า ความบริสุทธิ์ใจที่จะต้องไม่มีการตั้งภาคี
หก ความสัจจริงที่จะต้องไม่มีการโกหกมดเท็จ
เจ็ด ความรักที่จะต้องไม่มีสิ่งที่ตรงข้ามกับมัน นั่นก็คือความโกรธเกลียด
และเงื่อนไขของ “การปฏิญาณว่าแท้จริงมุฮัมมัดเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ" ก็เงื่อนไขเดียวกันกับ “การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ" โดยหลักฐานต่างๆ อยู่ในคำตอบของฟัตวาหมายเลข 9104 และ 12295
และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง
www.islamqa.com
ฟัตวาหมายเลข 82857