×
Image

ตัฟซีรสูเราะฮฺ อัน-นะบะอ์ (สูเราะฮฺ อัมมา) - (ไทย)

ชุดตัฟซีรอัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัน-นะบะอ์ (ญุซอ์ที่ 30) ที่ถ่ายทอดผ่านวิทยุคลื่นคนรักษ์อัลกุรอาน โรงเรียนดารุลมาอาเรฟ สตูล ผู้บรรยายได้แบ่งการบรรยายเป็นตอนๆ โดยอาศัยหลักฐานและทัศนะของอุละมาอ์ที่เชื่อถือได้ในการอธิบาย พร้อมแทรกบทเรียนต่างๆ ที่ได้รับไว้ด้วยในบางครั้ง

Image

ตัฟซีร บทอธิบายสูเราะฮฺ อัล-มาอูน - (ไทย)

อธิบายสูเราะฮฺ อัล-อัลมาอูน กล่าวถึงคุณลักษณะด้านชั่วบางประการที่มุสลิมจำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยงและระวังตัว เป็นคุณลักษณะที่แสดงถึงการไม่ศรัทธาต่อวันแห่งการตอบแทน ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยในความคิดของคนส่วนใหญ่ก็ตาม อาทิ การเพิกเฉยต่อเด็กกำพร้า การไม่ดูแลคนจน การละเลยละหมาด การตระหนี่ถี่เหนี่ยว

Image

ตัฟซีร บทอธิบายสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ - (ไทย)

อธิบายสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ (กุลฮุวัลลอฮุ อะหัด) เป็นสูเราะฮฺหนึ่งที่สำีคััญยิ่ง และเป็นที่รู้จักและท่องจำของมุสลิมโดยทั่วไป กล่าวถึงความหมายและข้อเท็จจริงของคำว่า อิคลาศ หรือความบริสุทธิ์ใจต่อเอกองค์อัลลอฮฺ และสภาพความเป็นจริงของมุสลิมที่ปรากฏให้เห็นในบางเรื่องที่ยังขัดแย้งกับข้อเท็จจริงแห่งความอิคลาศดังกล่าว

Image

การสืบตำแหน่งผู้ปกครอง(ระบอบอัลคิลาฟะฮฺ) และการปกครองรัฐ (อัลอิมาเราะฮฺ) - (ไทย)

ข้อมูลว่าด้วยอัล-คิลาฟะฮฺและอัล-อิมาเราะฮฺตามบทบัญญัติอิสลาม อาทิ บทบัญญัติว่าด้วยการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครอง (อัลคิลาฟะฮฺ) รูปแบบในการสรรหาผู้นำ ตำแหน่งตัวแทนของอัลลอฮฺ (อัลคิลาฟะฮฺ) เป็นของชาวกุเรชและมวลมนุษยชาติจะเป็นผู้ปฏิบัติตามชาวกุเรช ห้ามการร้องขอหรือแสวงหาตำแหน่งผู้นำ ให้พยายามออกห่างจากการเป็นผู้นำโดยเฉพาะผู้ที่มีความอ่อนแอในการจะปฏิบัติตามหน้าที่ เป็นต้น จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

ให้รวมกันและห้ามแตกแยก - (ไทย)

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาสอนให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และอยู่อย่างรอมชอมกัน และอยู่ร่วมกันบนสัจธรรม และเพราะอย่างนั้นอัลลอฮฺและเราะซูลถึงได้เตือนมิให้แตกแยกและขัดแย้งกัน เพราะเป็นสิ่งที่จะทำลายความเป็นปึกแผ่น และทำให้แถวทัพ(ความเข้มแข็ง)ด้อยลง และเกิดความวุ่นวายต่าง ๆ นานา และถูกศัตรูเข้ามายึดครอง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

คำถามต่างๆ ที่สำคัญในชีวิตมุสลิม - (ไทย)

คำถามต่างๆ ที่สำคัญในชีวิตมุสลิม รวบรวมคำถามบางข้อที่เกี่ยวข้องกับหลักศรัทธา และความเชื่อที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมุสลิม อาทิ คำถามเกี่ยวกับหลักการศรัทธาทั้งหกประการ ชิริกหรือการตั้งภาีคี สิ่งต่างๆ ที่มุสลิมต้องหลีกเลี่ยง และอื่นๆ คัดจากหนังสือตัฟซีร อัลอุชริล อะีคีร ของเว็บไซต์ www.tafseer.info

Image

ซุุนนะฮ์์และบทซิิกิิรต่่างๆ ในชีีวิิตประจำำวัันของท่่านนบี ี - (ไทย)

ซุุนนะฮ์์และบทซิิกิิรต่่างๆ ในชีีวิิตประจำำวัันของท่่านนบี ี

Image

รักนบีและเครื่องหมาย : การปรารถนาที่จะเห็นและอยู่ร่วมกับท่าน - (ไทย)

รักนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม และเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงความรักดังกล่าว อธิบายเครื่องหมายประการแรก นั่นคือ การปรารถนาที่จะเห็นและอยู่ร่วมกับท่าน ซึ่งการสูญเสียสองสิ่งดังกล่าวนั้นสำคัญยิ่งกว่าการสูญเสียสิ่งอื่นใดบนโลกนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์จากชีวประวัติของเศาะหาบะฮฺที่แสดงให้เห็นถึงเครื่องหมายข้อนี้ จากงานเขียนของ ดร. ฟัฎลฺ อิลาฮี

Image

ข้อคิดสำหรับดาอีย์ - (ไทย)

บางแง่มุมว่าด้วยการทำหน้าที่เผยแผ่อิสลามของดาอีย์ ท่ามกลางสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ที่คุกคามบุคลิกภาพอันพึงประสงค์ของมุสลิมและประชาชาติ โดยเน้นถึงคุณลักษณะต่างๆ ที่ดาอีย์ควรต้องให้ความสำคัญและคำนึงถึงในการทำหน้าที่ของตนเพื่อให้บรรลุผลตามที่อัลลอฮฺทรงพอพระทัยต่อไป

Image

การรักท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และเครื่องหมายแห่งความรัก - (ไทย)

ระบุหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดีษ ที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นที่ต้องรักท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มากกว่าสิ่งอื่นใดใน พร้อมอธิบายอย่างสั้นๆ

Image

ตัฟซีร บทอธิบายสูเราะฮฺ อัน-นัศรฺ - (ไทย)

อธิบายสูเราะฮฺ อัน-นัศรฺ (อิซา ญาอะ นัศรุลลอฮฺ) พูดถึงห้วงชีวิตสุดท้ายของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่อัลลอฮฺได้ประกาศถึงการบรรลุถึงหน้าที่ของท่านในการเป็นศาสนทูตผู้เผยแพร่อิสลามแก่มวลมนุษย์ โดยให้ โดยให้เห็นสัญญาณบางประการเช่น การพิชิตเมืองมักกะฮฺ และการเข้ารับอิสลามอย่างมากมายของผู้คนในบั้นปลายชีวิตของท่าน รวมทั้งบทเรียนบางประการสำหรับการปฏิบัติของมุสลิมที่ได้รับจากสูเราะฮฺนี้

Image

คุฏบะฮฺ : ว่าด้วยความสุข - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงข้อเท็จจริงของความสุขตามทัศนะอิสลาม ซึ่งมุ่งเน้นที่การให้มนุษย์ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าและประกอบความดีงาม การมอบหมายต่ออัลลอฮฺ ความรู้สึกพึงพอใจในสิ่งที่ตนมี การดูแลหัวใจ และการผูกสัมพันธ์กับพระผู้เป็นเจ้า